เพาเวอร์คอร์ดคือ ?

การจับเพาเวอร์คอร์ด ควรจะต้องรู้อะไรก่อน ?

แน่ นอนฮะ เรื่องนี้เป็นแก่นของคอร์ดร็อคกันเลยทีเดียว กับตำแหน่งของเสียงต่างๆบนแต่ละเฟรต ซึ่งสำหรับคอร์ดร็อค เราใช้หลักๆแค่ 2 สายบน  สาย 5 และสาย 6 เท่านั้นเอง !    แล้วสายไหนมันเสียงไหนล่ะ ? นี่เลยครับผม
และ สำหรับคนที่มือใหม่มาใหม่สดๆจริงๆ และกำลังงงกับทฤษฏีดนตรีในจุดนี้ เดี๋ยวพี่เต่าขออธิบายแบบง่ายๆให้ครับผม    “ เสียงโน๊ตรูปแบบนี้ เราจะไล่เสียงจากต่ำไปสูง โดยเรียงเป็น A > B > C > D > E > F > G  ตามลำดับ  โดยแต่ละเสียงจะมีระยะห่างกันเต็มเสียง  *ยกเว้น เสียงระหว่าง B>C  และ E>F จะห่างกันเพียงครึ่งเสียง   ในภาษาดนตรีตัวนี้เราจะมีเครื่องหมาย 2 ชนิดที่เรียกว่า  ชาร์ป ( # )  และ แฟลต ( b )  โดย ชาร์ป หมายถึง *เสียงสูงขึ้นมาครึ่งเสียง  และแฟลต หมายถึง *เสียงต่ำลงมาครึ่งเสียง     และ บนคอกีตาร์เรา จากเฟรต 1 ไป 2  = ห่างกันครึ่งเสียง  เพราะฉะนั้นถ้าเต็มเสียง จะต้องเป็นจากเฟรต 1 ไป 3  หรือก็คือเว้นไว้ 1 ช่อง เพื่อที่จะเพิ่มเต็มเสียงนั่นเอง “  อันนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า คอร์ด Ab  Bb  C# ต่างๆครับผม    เราจึงสังเกตุได้ว่า ทำไมเราจึงไม่เคยเห็นคอร์ด  E# หรือ Fb ก็เพราะว่า ทั้งสองคอร์ดนี้ห่างกันครึ่งเสียง   E# จึง = คอร์ด F    และ Fb จึง = คอร์ด E นั่นเอง  ( คอร์ด B# และ Cb ก็เช่นกัน )   ซึ่งในการเล่น Power Chord นั้น เราไม่สนใจสกุลด้านหลังของคอร์ดอยุ่แล้ว ใช้เพียงแค่ตัวคอร์ดของมันเลย ดังนั้น ถ้าเข้าใจทฤษฏีนี้แล้วล่ะก็  คอร์ด Rock ทั้งหมดก็อยุ่ในมือคุณเรียบร้อยแล้ว !

  ตารางเพาเวอร์คอร์ด กับวิธีจับแบบง่ายๆ !!

หม่ะ ! เข้าเรื่องกันเลย นี่เป็นเทคนิคอย่างง่ายๆเลย ในการจับ Power Chord นั้นเราจะใช้ฟอร์มในกับจับ 2 แบบ   ” ครับผม 2แบบเท่านั้น ”   มาดูภาพง่ายๆนี่เลย
Power-Chord-APower-Chord-BPower-Chord-BbPower-Chord-CPower-Chord-C#Power-Chord-DPower-Chord-D#Power-Chord-EPower-Chord-FPower-Chord-F#Power-Chord-GPower-Chord-G#
อัน นี้เป็นภาพ ตำแหน่งคอร์ดหลักของเสียงทั้ง 12 เสียงนะครับผม โดยจะสังเกตุได้ว่า มันจะมีคอร์ดที่ จับโดย กดสายคู่ 2 สาย เป็นสาย  [5 , 6]  และ สาย  [4 , 5 ]  โดยมีเทคนิคใรการจำรวบรัดในส่วนนี้ง่ายๆเลย  ” A F G คู่บน  B C D คู่ล่าง ”   ยกเว้นคอร์ด E ซึ่งสายเสียงเปล่ามันเป็นเสียง E อยุ่แล้ว เราจึงจับแค่คู่สาย [ 3 ,4 ] โดยปล่อยสาย 6 เอาไว้เท่านั้น   ( หรือ สามารคจับคู่ล่าง 4 , 5  ในเฟรตที่ 7 ได้ ก็เป็นเสียง E เช่นกัน !! ) ซึ่งเมื่อนำ ทฤษฏีระยะห่างของเสียง ในบทแรกข้างบนมาใช้แล้ว ก็จะทำให้เรารุ้ตำแหน่งของคอร์ด # และ b ได้ง่ายๆเลย   ตัวอย่างเช่น   ในเมื่อคอร์ด  A ปกติเราเริ่มจับที่เฟรต 5 สาย [ 6 , 5 ]  เพราะฉะนั้น ถ้าเราเจอคอร์ด Ab ก็เพียงแค่ “ เลื่อนลงมาจับที่เฟรต 4 โดยสายที่จับยังคงเป็นสาย  [ 6, 5 ] เช่นเดิมเลย ! “ หรือ ถ้าเจอคอร์ดที่เป็น # ก็เพียงแค่ “ เลื่อนเฟรตที่จับขึ้นไป 1 ช่องจากตำแหน่งคอร์ดหลัก ก็เรียบร้อยแล้วครับผม  ง่ายเวอร์เลยทีเดียว

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม